“งาช้างดำ” ซึ่งเป็นโบราณวัตถุคู่บ้านคู่เมืองน่าน และเป็นโบราณวัตถุชิ้นเด่นที่สำคัญซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กล่าวได้ว่าหากใครได้มาเยือนเมืองน่านแล้วไม่ได้แวะมาเยี่ยมชมงาช้างดำถือว่ามาไม่ถึงเมืองน่านนะคะ ดังจะเห็นความสำคัญที่ปรากฏในคำขวัญจังหวัดน่านที่ว่า “แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง”

  • งาช้างดำ เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่รักษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งยังคงอยู่คู่กับหอคำ หรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มาจนถึงปัจจุบัน
  • ลักษณะเป็นงาปลี (งาที่มีความยาวไม่มากนัก แต่มีวงรอบขนาดใหญ่) สีน้ำตาลเข้ม มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ถอดความเป็นภาษาไทยว่า “กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน” ขนาดของงาช้างดำยาว ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่กว้างที่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีโพรงตอนโคนลึก ๑๔ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม 
  • จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า เป็นงาช้างตันที่ถูกถอดมาจากตัวช้าง โดยช้างเจ้าของงาน่าจะมีอายุ ๖๐ ปี สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้าย เพราะมีรอยเสียดสีกับงวงชัดเจน
  • อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่างาช้างดำกิ่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่มีตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับงาช้างดำ
Line
Email
Phone
Messenger
Messenger
Line
Phone
Email